ญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ของ จักรวรรดิญี่ปุ่น

แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ลงนามในการประกาศสงครามต่อจักรวรรดิญี่ปุ่นเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 หลังเกิดการโจมตีที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์

ชนวนก่อเหตุ

สมรภูมิในจีน ซึ่งกองทัพบกญี่ปุ่นได้ดำเนินการมานานก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ โดยได้ทำการยึดครองเมืองและบริเวณชายฝั่งของจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการจัดตั้งประเทศแมนจูกัวซึ่งมีจักรพรรดิปูยีเป็นประมุข และได้ทำการยึดครองกรุงหนานจิง (นานกิง) ที่เป็นเมืองหลวงของจีน (ของรัฐบาลก๊กมินตั๋งในยุคนั้น) และได้ทำการสังหารหมู่ชาวจีนทีโด่งดังขึ้น ซึ่งรุนแรงมากจนกระทั่งทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในเมืองนานกิงยังรับไม่ได้

ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำและพรรคก๊กมินตั๋น (ประชาธิปไตย) ที่มีเจียงไคเช็กเป็นผู้นำ หลังจากเกิดกรณีซีอันขึ้น ทั้งที่ 2 พรรคนี้เคยเป็นศัตรูกันมาก่อนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้ทำการสู้รบและดำเนินการ "สงครามกองโจร" ที่กลายเป็นแบบอย่างของสงครามกองโจรยุคใหม่ขึ้นโดยมีฐานที่มั่นหลักอยู่ที่เยนอาน ตามเขตตอนเหนือและแมนจูเรียส่วนพรรคก๊กมินตั๋นได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ฉ่งชิ่ง (จุงกิง) และได้รับการสนับสนุนจากสัมพันธมิตรที่อยู่ในอินเดีย แต่ว่ามีการถกเถียงกันระหว่างบทบาทของพรรคก๊กมินตั๋นและพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในเรื่องบทบาทความสำเร็จและความเอาการเอางานในการต่อต้านญี่ปุ่นของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ที่แน่ชัดคือ นายพลสติเวลล์ ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปดูแลกองทัพของพรรคก๊กมินตั๋นรู้สึกโกรธมากที่ภายในพรรคก๊กมินตั๋นไม่มีประสิทธิภาพ และมุ่งการปราบคอมมิวนิสต์มากกว่าการรบกับญี่ปุ่น ในขณะที่เอดการ์ สโนว์ได้แสดงความชื่นชมบทบาทของเหมาเจ๋อตงอย่างมากในการต่อต้านญี่ปุ่น และทางกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะปฏิบัติการดิกซีเข้าไปร่วมทำงานกับเหมาเจ๋อตุง แต่นักหนังสือพิมพ์จากสหภาพโซเวียตที่ได้เข้าไปทำข่าวในห้วงเวลาเดียวกันกลับวิจารณ์ เหมาเจ๋อตงว่าไม่เคร่งครัดในลัทธิคอมมิวนิสต์และหย่อนยานในการสู้รบ ทำให้ไม่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้

การรบชนะจีนซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียนั้น ยิ่งทำให้ชาติญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในการทหารของตนเอง ทำการรุกรานประเทศอื่น ๆอย่างไม่เกรงกลัว และยังประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาโดยการส่งเครื่องบินไประเบิดเรืออริโซน่าที่อ่าวเพิร์ล เป็นชนวนจุดระเบิดสงครามโลกครั้งที่สองในภูมิภาคเอเชีย

การโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์

เรือรบสงครามของสหรัฐอเมริกาถูกทำลายโดยกองทัพญี่ปุ่น
ดูบทความหลักที่: การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

การโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นการโจมตีฉับพลันของจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฝ่ายกองทัพสหรัฐอเมริกา โดยการโจมตีเกิดขึ้นที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ รัฐฮาวาย ในสหรัฐอเมริกา วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) ในการโจมตีนี้สร้างความเสียหายแก่ฝ่ายกองทัพอเมริกันมาก โดยเรือสงครามสูญเสีย 12 ลำ เครื่องบิน 188 ลำ ทหารอเมริกันเสียชีวิต 2,403 คน และประชาชน 68 คน

สงครามอินโดจีน

อาณานิคมและดินแดนที่ยอมอยู่ใต้อำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่นเมื่อปี 1942
ดูบทความหลักที่: สงครามอินโดจีน
เครื่องบิน 52c Zero ถูกส่งจากเกาหลีสู่เกาะคีวชู (ต้นปีพ.ศ. 2488)

หากไม่นับรวมการเข้ายึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศสที่ถูกบังคับให้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะภายใต้รัฐบาลวีชีฝรั่งเศสแล้ว สมรภูมิด้านนี้ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ และการบุกยึดประเทศต่าง ๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้บุกไปถึงพม่า, นิวกินี และเกาะกวาดัลคะแนล ซึ่งปรากฏว่าหลังจากสมรภูมิที่มิดเวย์ การรบทางทะเลแถวหมู่เกาะโซโลมอนและทะเลปะการัง และการรบที่กวาดัลคะแนลแล้ว ปรากฏว่ากองทัพเรือญี่ปุ่นต้องสูญเสียอย่างหนัก ส่วนกองทัพบกก็ไม่สามารถหากำลังพลและยุทโธปกรณ์ได้เพียงพอเพื่อปกป้องดินแดนที่ยึดได้ใหม่ ในที่สุดจึงถูกกองกำลังพันธมิตรที่มีสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียตีโต้กลับไปจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในที่สุด

ใกล้เคียง

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิบริติช จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิมองโกล จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรวรรดิโรมัน จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล: เฟสสอง จักรวรรดิรัสเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: จักรวรรดิญี่ปุ่น http://www.boston.com/news/nation/washington/artic... http://archives.cnn.com/2001/WORLD/asiapcf/east/03... http://findarticles.com/p/articles/mi_qa3693/is_20... http://news.naver.com/news/read.php?mode=LSD&offic... http://history.hanover.edu/texts/1889con.html http://www.mofa.go.jp/mofaj/annai/honsho/shiryo/qa... http://www.city.tsuruga.lg.jp/sypher/free/kk-museu... http://www.comfort-women.org/ https://books.google.com/books/about/A_History_of_... https://books.google.com/books?id=4N0oXNN7dcoC&pg=...